หน่วยที่ 4

พระราชกรณียกิจพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระองค์โปรดให้มีพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาสำหรับพระราชวงศ์ เสนาบดี ทหารและพลเรือนทั้งหลายต่างดื่มน้ำพระพิพัฒน์สัตยาทั่วทุกคน พระองค์มิได้มีพระราชประสงค์ให้ข้าราชบริพารซื่อสัตย์จงรักภักดีต่อพระองค์ฝ่ายเดียว แต่ทรงพระราชดำริว่าจะต้องทรงให้คำมั่นสัญญาต่อประชาชนของพระองค์ด้วยพระองค์จึงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่เสวยน้ำพระพิพัฒน์สัตยา
พ.ศ. 2396 โปรดให้จัดทำพระราชพิธีบรรจุดวงพระชะตาพระนคร ลงในหลักเมืองที่โปรดให้ทำขึ้นใหม่ แทนหลักเมืองเก่าซึ่งยกขึ้นเมื่อรัชกาลที่ 1 ซึ่งชำรุดทรุดโทรม
พ.ศ. 2400 โปรดให้สถาปนาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการเป็นบำเหน็จความดีความชอบ
พ.ศ. 2401 โปรดให้ตั้งโรงพิมพ์หลวงขึ้นในวัง เรียกว่า "โรงราชกิจจานุเบกษา" เพื่อเสนอข่าวราชการเป็นครั้งแรก
พ.ศ. 2403 โปรดให้สร้างโรงกษาปณ์ขึ้นที่หน้าพระคลังมหาสมบัติในพระบรมมหาราชวัง เพื่อผลิตเหรียญเงินราคาต่างๆ เพื่อใช้เป็นสิ่งแลกเปลี่ยน ซื้อขายแลกเปลี่ยน แทนเงินอย่างเก่าคือพดด้วง ทรงพระราชทานนามว่า "โรงกษาปณ์สิทธิการ"[12] นับเป็นโรงกษาปณ์แห่งแรกในเมืองไทย
พ.ศ. 2404 โปรดให้ตัดถนนและขุดคลองให้เป็นทางสัญจรอย่างใหม่ สำหรับชาวไทยและชาวต่างประเทศเหมือนกับประเทศที่เจริญแล้วทางยุโรป เช่น การสร้างถนนเจริญกรุงเป็นสายแรก ถนนบำรุงเมือง ถนนเฟื่องนครและ ถนนสีลม ส่วนคลองได้แก่ คลองผดุงกรุงเกษม คลองหัวลำโพง คลองมหาสวัสดิ์ และคลองดำเนินสะดวก เป็นต้น
ด้านวรรณคดี
พระองค์ทรงเอาพระทัยใส่ทำนุบำรุงเป็นอย่างดี พระราชนิพนธ์ส่วนใหญ่เป็นประเภทร้อยแก้ว บทพระราชนิพนธ์ที่สำคัญ ได้แก่
ชุมนุมพระบรมราโชบาย 4 หมวด คือ หมวดวรรณคดี โบราณคดี ธรรมคดี และตำรา
ตำนานเรื่อง พระแก้วมรกต เรื่องปฐมวงศ์
ทรงริเริ่มให้มีการค้นคว้าศิลาจารึกในประเทศไทยขึ้นเป็นครั้งแรก คือ จารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหงและจารึกหลักที่ 4 ของพระยาลิไทย
ด้านพระพุทธศาสนา
พระองค์ทรงฟื้นฟูพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรือง โดยทรงตั้งธรรมยุตติกาวงศ์ขึ้น เป็นนิกายใหม่ในพระพุทธศาสนา ที่มีความเคร่งครัดในพระธรรมวินัยและระเบียบแบบแผน
ด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
ในรัชสมัยของพระองค์ได้มีความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตกอย่างกว้างขวาง มีการทำสัญญากับต่างประเทศถึง 10 ประเทศ ทรงนำนโยบาย "ผ่อนสั้น ผ่อนยาว" มาใช้กับประเทศมหาอำนาจเป็นพระองค์แรกในสมัยรัตนโกสินทร์ อันทำให้ไทยสามารถดำรงเอกราชอยู่ได้จนทุกวันนี้ พระองค์ได้ส่งคณะทูตไทยโดยมีพระยามนตรีสุริยวงศ์เป็นราชทูต เจ้าหมื่นสรรเพ็ชภักดีเป็นอุปทูต หมื่นมณเฑียรพิทักษ์เป็นตรีทูต นำพระราชสาส์นไปถวายสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งอังกฤษนับเป็นความคิดริเริ่มให้มีการเดินทางออกนอกประเทศได้ เนื่องจากแต่เดิมกฎหมายห้ามมิให้ เจ้านาย พระราชวงศ์ ข้าราชการผู้ใหญ่เดินทางออกจากพระนคร เว้นเสียแต่ไปในการสงครามกับกองทัพ
พระองค์ทรงโปรดเกล้าให้ชาวต่างประเทศรับราชการเป็นกงสุลไทย เช่น เซอร์ จอห์น เบาริง อัครราชทูตของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งประเทศอังกฤษ เข้ามาทำสนธิสัญญากับประเทศไทยเป็นชาติแรก เมื่อพ.ศ. 2398 ได้ทรงพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "พระยาสยามานุกูลกิจ สยามมิตรมหายศ" เป็นกงสุลไทยประจำกรุงลอนดอน

พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ของไทย
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นนักดาราศาสตร์ไทยผู้ยิ่งใหญ่ทรงการคำนวณการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงได้อย่างแม่นยำในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 ล่วงหน้า 2 ปี และได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมเซอร์ แอร์รี่ ออร์ด เจ้าเมืองสิงคโปร์ คณะทูตานุทูต นักวิทยาศาสตร์ฝรั่งเศส แขกต่างประเทศอื่นที่ทรงเชิญมา และข้าราชบริพารไทย ทอดพระเนตรสุริยุปราคาครั้งนั้น ปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นตรงตามที่พระองค์ทรงคำนวณไว้ทุกประการ พระอัจฉริยภาพของพระองค์เป็นที่เลื่องลือ ขจรขจายปวงชนชาวไทยถวายพระราชสมัญญานามทรงเป็น "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" และเป็นที่มาของการสร้างอุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ ตำบลหว้ากอจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นอนุสรณ์สถานแด่พระองค์
จากคัมภีร์พุทธศาสนาเรื่อง ไตรภูมิพระร่วง ส่งอิทธิพลสำคัญต่อความคิดความเชื่อ ของผู้คนชาวไทย เรื่องภาพแห่งจักรวาล คือ ภพทั้ง 3 แห่ง สวรรค์ มนุษย์และบาดาล แต่สำหรับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาพแห่งจักรวาลคือวิชาการดาราศาสตร์ยุคใหม่ของการศึกษาถึงความเป็นไปในเอกภพ ด้วยข้อมูลความจริงด้วยความคิดและเหตุผลโดยการศึกษาอย่างเป็นระบบระเบียบ ตามหลักการของวิทยาศาสตร์แผ่นดินในรัชสมัยของพระองค์จึงเป็นประตูสู่โลกยุคใหม่ การเสด็จพระราชดำเนินเพื่อพิสูจน์การเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 ณ ตำบลหว้ากอ ถือเป็นการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ครั้งยิ่งใหญ่และครั้งแรกของชาติไทย โดยพระองค์ท่าน ทรงเป็นผู้คำนวณด้วยพระองค์เองต่อหน้าคณะนักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส และแขกเมืองชาวต่างประเทศ ถือเป็นการเสี่ยงต่อการสูญเสียพระเกียรติยศอย่างยิ่ง แต่พระองค์ก็ทรงกระทำการคำนวณได้ถูกต้องแม่นยำสมศักดิ์ศรีที่ชาวไทยคำนวณสุริยุปราคาได้แม่นยำมานานนัก ดังเช่นพญาลิไทแห่งกรุงสุโขทัย เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถของพระองค์ ทางด้านวิทยาศาสตร์ บริเวณโดยรอบจะแสดงเครื่องใช้ของพระองค์ ที่เกี่ยวกับดาราศาสตร์ ซึ่งเป็นสิ่งของที่หาชมได้ยากในปัจจุบัน ได้นำมาตั้งแสดงให้พสกนิกรได้ชมอย่างใกล้ชิด